มีเหตุฉุกเฉินต้องใช้เงินสดเร่งด่วน อยากนำทรัพย์สินมีค่าไปจำนำที่โรงรับจำนำ แต่ไม่รู้ว่าต้องใช้อะไรบ้าง และมีขั้นตอนการจำนำอย่างไร แถมโรงรับจำนำในมุมมองของหลาย ๆ คนยังดูเป็นสถานที่ที่น่ากลัว แต่ของให้ลบภาพโรงรับจำนำที่เคยเข้าใจทิ้งไปก่อน แล้วมารู้ถึงคู่มือการเข้าโรงรับจำนำครั้งแรกในยุคปัจจุบันที่เรานำมาฝากกัน บอกเลยว่าเข้าใจง่ายและทำตามได้จริง ที่สำคัญ โรงรับจำนำไม่ใช่สถานที่น่ากลัวอย่างที่คิดแน่นอน
คนส่วนใหญ่รู้ดีว่า โรงรับจำนำคือสถานที่ที่เราสามารถนำทรัพย์สินมีค่าไปจำนำไว้ เพื่อแลกกับเงินสดมาใช้จ่าย และเมื่อครบระยะเวลาที่กำหนด ก็นำเงินพร้อมดอกเบี้ยไปไถ่ทรัพย์สินกลับคืนมา แต่นอกเหนือจากนี้ โรงรับรับจำนำยังมีรายละเอียดอีกหลายอย่างที่หลายคนไม่เคยรู้ สำหรับใครที่กำลังหาตัวช่วยในเรื่องการเงิน มารู้ถึงวิธีเข้าโรงรับจำนำครั้งแรกกัน
1. โรงรับจำนำของรัฐบาล แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
๐ สถานธนานุเคราะห์ ดำเนินกิจการโดยกรมประชาสงเคราะห์ มีอัตราดอกเบี้ยดังนี้
- เงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ต่อเดือน
- เงินต้น 5,001 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ต่อเดือน
- เงินต้น 10,001 บาท แต่ไม่เกิน 20,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 1.00 ต่อเดือน
- เงินต้น 20,001 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 1.25 ต่อเดือน
๐ สถานธนานุบาล ใช้เงินทุนจากกองทุนส่งเสริมกิจการเทศบาลเงินกู้จากกองทุนส่งเสริมกิจการเทศบาล ดำเนินงานโดยเทศบาลหรือกรุงเทพมหานคร มีอัตราดอกเบี้ยดังนี้
- เงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ต่อเดือน
- เงินต้น 5,001 บาท - 35,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.00 ต่อเดือน
- เงินต้นเกิน 15,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.25 ต่อเดือน
2. โรงรับจำนำของเอกชน ดำเนินงานด้วยเงินทุนของเจ้าของกิจการ หุ้นส่วน และเงินทุนหมุนเวียน ให้บริการในลักษณะห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัด ส่วนใหญ่มักให้ราคาสูงกว่าโรงรับจำนำของรัฐ โดยพระราชบัญญัติโรงรับจำนำพ.ศ.2505 กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ดังนี้
๐ เงินต้นไม่เกิน 2,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อเดือน
๐ เงินต้นส่วนที่เกินจาก 2,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.25 ต่อเดือน
สิ่งของที่สามารถจำนำได้ต้องเป็นสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์สินที่เคลื่อนย้ายได้และต้องไม่มีการตีทะเบียนเท่านั้น เช่น เครื่องเพชร เครื่องทอง อัญมณี เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือช่าง นาฬิกา แว่นตา สินค้าแบรนด์เนม และของใช้เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ
โรงรับจำนำทุกแห่งจะมีระยะเวลาในการจำนำอยู่ที่ 4 เดือน 30 วัน หากขาดส่งดอกเบี้ยเกินกำหนด หรือไม่มาไถ่ถอนทรัพย์สินภายในเวลาที่กำหนดโดยไม่มาขยายเวลาในการจำนำ ทรัพย์สินก็จะถือเป็นของหลุดจำนำโดยทันที
ตามกฎหมาย กำหนดให้ผู้ที่สามารถจำนำสิ่งของได้ ต้องมีอายุเกิน 15 ปีขึ้นไป มีบัตรประจำตัวประชาชน และไม่ใช่ภิกษุหรือสามเณร โดยสิ่งที่ต้องเตรียมในการเข้าโรงรับจำนำ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หรือใบขับขี่ และทรัพย์สินที่ต้องการจำนำ
๐ ขั้นตอนที่ 1
นำทรัพย์สินที่ต้องการจำนำพร้อมบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง ใบขับขี่ หรือบัตรอื่น ๆ ที่ราชการออกให้ไปที่โรงรับจำนำ
๐ ขั้นตอนที่ 2
ผู้เชี่ยวชาญของโรงรับจำนำจะทำการตรวจสอบทรัพย์สินเพื่อประเมินราคาและตกลงราคาระหว่างกัน
๐ ขั้นตอนที่ 3
หลังจากตกลงราคาได้แล้ว ต้องทำการสแกนนิ้วเป็นหลักฐานเพื่อรับเงินและตั๋วจำนำ
๐ ขั้นตอนที่ 4
ผู้จำนำมีหน้าที่จ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นตามกำหนด แล้วต้องมาไถ่ถอนทรัพย์สินคืนภายในระยะเวลา 4 เดือน 30 วัน ตามที่ระบุไว้บนตั๋วจำนำ
ได้รู้กันไปแล้วว่า การเข้าโรงรับจำนำต้องใช้อะไรบ้าง รวมทั้งขั้นตอนการจำนำทรัพย์เป็นอย่างไร และหากใครที่กำลังมองหาโรงรับจำนำที่ได้มาตรฐาน เลือก Easy Money เรามีบริการประเมินราคาทรัพย์สินออนไลน์เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก พร้อมมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำขั้นตอนการจำนำอย่างละเอียด บริการทันสมัย การันตีให้ราคาสูง และดูแลทรัพย์ของคุณเป็นอย่างดีตลอดระยะเวลาที่จำนำ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่โทร.02-113-1123 หรือจะมาพบกับเราก็แวะมาได้กับทุกสาขาทั่วประเทศ