หากขาดสภาพคล่องทางการเงิน โรงรับจำนำนับว่าเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่เหมาะสม เพราะตอบโจทย์กับคนที่ต้องการใช้เงินสดอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็น ใช้จ่ายค่าเทอมลูก จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับคนในครอบครัว หรือนำไปเป็นทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจไม่ให้หยุดชะงัก
นอกจากนี้ การนำทรัพย์ไปแลกเป็นเงินสดกับโรงรับจำนำยังทำได้ง่าย ใคร ๆ ก็ทำได้ อีกทั้งยังสามารถไปไถ่ถอนได้อย่างสะดวก เพียงแค่นำเงินมาผ่อนชำระคืนจนครบในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งในปัจจุบันมีโรงรับจำนำที่เปิดให้บริการอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ โรงรับจำนำรัฐ VS โรงรับจำนำเอกชน แต่หากใครที่ยังไม่แน่ใจว่าควรเลือกใช้บริการโรงรับจำนำประเภทไหนดี เราจะมาเปรียบเทียบข้อแตกต่างโรงรับจำนำรัฐกับเอกชนให้คุณได้รู้กันในบทความนี้
โรงรับจำนำที่ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบาล เพื่อเป็นทางเลือกในการกู้เงินให้แก่ประชาชน โดยโรงรับจำนำของรัฐสามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 ประเภท คือ
- โรงรับจำนำสถานธนานุเคราะห์ คือโรงรับจำนำที่ดำเนินการโดยกรมประชาสงเคราะห์ ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้จัดสรรเงินงบประมาณในการดำเนินการให้ รวมถึงทำการกู้เงินจากธนาคารออมสิน เพื่อนำมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
- โรงรับจำนำสถานธนานุบาล คือโรงรับจำนำที่ดำเนินการโดยกรุงเทพมหานครหรือเทศบาลในแต่ละพื้นที่ โดยนำเงินจากกองทุนส่งเสริมกิจการเทศบาล และเงินกู้จากกองทุนส่งเสริมกิจการเทศบาล มาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
โรงรับจำนำที่ก่อตั้งและดำเนินการโดยเอกชน ซึ่งเงินทุนจะเป็นของเจ้าของและหุ้นส่วน หรือเงินจากการที่เจ้าของกู้ยืมมาใช้ในการดำเนินการต่าง ๆ โดยจะดำเนินการในรูปแบบของห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัด
- โรงรับจำนำของรัฐบาล แบ่งเป็น
โรงรับจำนำสถานธนานุบาล
เงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย 0.25 % ต่อเดือน
เงินต้น 5,001 - 15,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย 1.00 % ต่อเดือน
เงินต้นเกิน 15,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยเงินต้น 2,000 บาทแรก 2 % และส่วนที่เกิน 2,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย 1.25 % ต่อเดือน
โรงรับจำนำสถานธนานุเคราะห์
เงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย 0.25 % ต่อเดือน
เงินต้น 5,001 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย 0.75 % ต่อเดือน
เงินต้น 10,001 บาท แต่ไม่เกิน 20,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย 1.00 % ต่อเดือน
เงินต้น 20,001 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย 1.25 % ต่อเดือน
- โรงรับจำนำเอกชน
เงินต้นไม่เกิน 2,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย 2% ต่อเดือน
เงินต้นส่วนที่เกิน 2,000 บาทขึ้นไป คิดอัตราดอกเบี้ย 1.25% ต่อเดือน (15% ต่อปี และไม่เกิน 24% ต่อปี)
ในส่วนของราคาประเมินทรัพย์สิน เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วพบว่าของโรงรับจำนำเอกชนจะให้ราคาประเมินที่ค่อนข้างสูงกว่าของโรงรับจำนำรัฐบาล ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับประเภทของทรัพย์ที่นำมาประเมินด้วย
- โรงรับจำนำของรัฐบาล จะรับจำนำทรัพย์สินที่เคลื่อนย้ายได้ เช่น ทอง เพชร นาก เงิน นาฬิกา แว่นตา เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือช่าง และของใช้เบ็ดเตล็ด โดยต้องไม่เป็นสินทรัพย์ที่ทะเบียน รวมถึงไม่เป็นทรัพย์สินของทางราชการ
- โรงรับจำนำของเอกชน จะรับจำนำทรัพย์สินที่เคลื่อนย้ายได้เช่นเดียวกันกับโรงรับจำนำของรัฐบาล รวมไปถึงของใช้แบรนด์เนมต่าง ๆ
ทั้งโรงรับจำนำของรัฐและโรงรับจำนำของเอกชนต่างก็มีระยะเวลาของตั๋วจำนำอยู่ที่ 4 เดือน ที่สามารถผ่อนผันได้ 30 วัน ถ้าหากเกินระยะเวลาผ่อนผัน 30 วันแล้ว ผู้ใช้บริการยังไม่มาส่งดอกเบี้ยหรือไถ่ถอนสินทรัพย์คืน สินทรัพย์จะตกเป็นของโรงรับจำนำตามกฎหมาย
ในปัจจุบันโรงรับจำนำหลายแห่งทั้งของรัฐและเอกชนได้นำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการ และสร้างความสะดวกสบายให้แก่ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการประเมินราคาทรัพย์สินทางออนไลน์ การส่งดอกเบี้ยทางออนไลน์ หรือการตรวจสอบยอดคงเหลือต่าง ๆ ทั้งนี้ ในแต่ละโรงรับจำนำก็มีการบริการที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับฟังก์ชันของแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ที่ใช้งาน ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเลือกรับบริการจากโรงรับจำนำที่ตอบโจทย์ และตรงต่อความต้องการมากที่สุดได้เลย
ทั้งหมดนี้ คือ การเปรียบเทียบข้อแตกต่างโรงรับจำนำรัฐกับเอกชน ที่เรานำมาให้รู้กัน และสำหรับใครที่สนใจใช้บริการโรงรับจำนำเอกชน Easy Money เป็นโรงรับจำนำเพื่อคนทุกระดับ การันตีให้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สภาพทรัพย์สินจะอำนวย อยากได้เงินด่วนเมื่อไหร่ ต้องนึกถึงเรา หรือหากต้องการประเมินราคาสินค้า ก็สามารถทำผ่านทางเว็บไซต์ของเราได้เลย รู้ผลไว ได้ตลอด 24 ชั่วโมง