การตกงานเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเครียดและวิตกกังวลให้แก่ทุกคนที่ต้องเผชิญ โดยเฉพาะผู้ที่มีภาระหนี้สินต้องรับผิดชอบ เพราะรายรับไม่มีเข้ามา แต่หนี้สินยังคงบานปลาย ดังนั้น ในช่วงตกงาน สิ่งสำคัญที่สุดคือการตั้งสติและวางแผนใช้เงินอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้ปัญหาหนี้สินยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น
เพื่อช่วยให้ผู้ที่กำลังตกงานแต่ไม่มีเงินจ่ายหนี้ สามารถก้าวผ่านความยากลำบากนี้ไปได้ เรามีเทคนิคการบริหารจัดการเงินมาแนะนำ ที่สามารถนำไปปรับใช้กันได้
สิ่งสำคัญประการแรกที่ต้องทำ หลังจากรู้ว่าตกงาน และอาจทำให้ไม่มีเงินจ่ายหนี้ คือการสำรวจว่าตนเองมีเงินสดหรือทรัพย์สินมีค่า อย่างทองคำ ของแบรนด์เนม หรือเครื่องประดับต่าง ๆ ที่สามารถนำไปจำนำหรือขายต่อ เพื่อหมุนเวียนเป็นเงินสดมาไว้ใช้จ่ายอยู่เท่าไร รวมถึงดูว่ามีเงินสำรองฉุกเฉินเก็บออมเอาไว้บ้างหรือไม่
เมื่อรู้ถึงสถานการณ์ทางการเงินของตนเองแล้ว จากนั้นมาสำรวจหนี้สินที่ต้องจ่ายทุกเดือน เพื่อประเมินว่า ในช่วงที่ไม่มีรายได้เข้ามา จะสามารถชำระหนี้สินได้มากน้อยแค่ไหน รวมถึงจะมีเงินสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวันไปอีกกี่เดือน จะได้วางแผนการใช้เงินได้อย่างเหมาะสมต่อไป
นอกจากการสำรวจเงินสดและทรัพย์สินที่มีอยู่แล้ว ยังต้องตรวจเช็กด้วยว่าตนเองจะได้รับเงินชดเชยในกรณีถูกเลิกจ้างเป็นจำนวนเท่าใด โดยข้อมูลจากกระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2555 ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ดังนี้
๐ ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
๐ ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
๐ ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
๐ ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
๐ ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
อีกทั้งผู้ที่ถูกเลิกจ้างหรือผู้ที่ลาออกเอง ยังมีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคมเป็นเวลา 6 เดือน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเดือนล่าสุด โดยฐานเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท อย่างเช่น ถ้าได้รับเงินเดือน 10,000 ก็จะได้รับเงินชดเชยเดือนละ 5,000 บาท แต่หากเงินเดือนตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป ก็จะได้รับเดือนละ 7,500 บาท เท่านั้น
โดยเงินที่ได้รับทั้งสองส่วนนี้ สามารถนำมาจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการชำระหนี้สิน หรือค่าของกิน ของใช้ในชีวิตประจำวัน ช่วยต่อชีวิตในช่วงที่ยังไม่มีรายได้ และไม่ต้องไปรบกวนเงินสำรองที่มีอยู่
หัวใจสำคัญของการเอาตัวรอดในช่วงที่ตกงานและยังไม่มีเงินจ่ายหนี้ คือการหยุดใช้บัตรเครดิตอย่างเด็ดขาด รวมถึงไม่ก่อหนี้สินที่จะเป็นภาระผูกพันเพิ่มเติม และพยายามรัดเข็มขัดด้วยการใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น ด้วยเงินชดเชยที่ได้รับ หรือเงินสำรองที่มีอยู่ ทั้งยังควรทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เห็นยอดเงินคงเหลือที่มีอยู่ จะได้ระมัดระวังการใช้เงินมากยิ่งขึ้น
อีกสิ่งที่ต้องทำคือการพยายามหางานใหม่ให้ได้เร็วที่สุด ทั้งจากเว็บไซต์หางาน หรือให้ญาติมิตร รวมถึงเพื่อนสนิทช่วยแนะนำให้ อีกทั้งระหว่างที่ยังไม่ได้งานประจำ ยังสามารถหารายได้เสริมจากการขายสินค้าที่ใช้เงินลงทุนไม่มาก และหมุนเวียนเงินไว จะได้มีรายรับมาไว้ใช้จ่ายเพิ่มเติม ไม่แน่ว่าคุณอาจสร้างรายได้จากการขายของจนกลายเป็นรายได้ประจำในอนาคตเลยก็เป็นได้
หากตกงานเป็นเวลานาน และไม่มีเงินจ่ายหนี้ แถมยังมีหนี้หลายทางหรือหนี้ก้อนใหญ่ที่ต้องจ่ายทุกเดือน จนคาดการณ์ว่าเงินสำรองที่มีอยู่อาจไม่สามารถชำระหนี้ได้ทัน จำเป็นต้องเจรจากับทางธนาคารเพื่อขอประหนีประนอมหนี้ หรือปรับลดอัตราผ่อน โดยให้คุณเล่าถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้แก่ตัวแทนของธนาคารฟัง เพื่อหาทางออกร่วมกัน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้คุณมีสภาพคล่องทางการเงินมากขึ้น และยังสามารถยืดระยะเวลาชำระหนี้ออกไปได้อีกด้วย
สำหรับใครที่ตกงานไม่มีเงินจ่ายบัตรเครดิต อยากได้เงินก้อนไปลงทุนหรือจ่ายหนี้ด่วน ๆ สามารถไปขอสินเชื่อเงินด่วนดอกเบี้ยต่ำจากสถาบันทางการเงินในปัจจุบันได้ หรือถ้าใครไม่อยากเพิ่มหนี้ให้มากขึ้น ก็สามารถนำสินทรัพย์มาจำนำเพื่อแลกเป็นเงินสด เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ชีวิตได้ไปต่อที่ Easy Money ได้เลย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ Call Center 02-113-1123 วันจันทร์ - อาทิตย์ 8.00 - 17.00 (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)