เชื่อว่าคงมีหลายคนที่เคยได้ยินคำว่า “ทองคำขาว” ผ่านหูมาบ้าง แต่ก็ไม่รู้ว่า จริง ๆ แล้วเจ้าสิ่งนี้คืออะไร มีความเหมือนหรือแตกต่างกับทองคำปกติอย่างไร ดังนั้น บทความนี้จึงจะมาช่วยไขข้อสงสัย พร้อมอธิบายให้รู้กันแบบรอบด้าน ว่าทองคำขาวคืออะไร มีกี่แบบ ไปจนถึงประโยชน์การใช้งาน ติดตามทั้งหมดนี้ได้ในบทความนี้เลย
เมื่อพูดว่าทองคำขาว อาจเป็นคำที่ได้ยินไม่บ่อยนัก แต่ถ้าบอกว่าคือสิ่งเดียวกันกับ “แพลทินัม(Platinum)” เชื่อว่าหลายคนน่าจะร้องอ๋อโดยพร้อมเพรียง
ทองคำขาว หรือ แพลทินัม คือโลหะมีค่าหายาก มีสีขาวเงินวาววับตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องผ่านการชุบหรือเคลือบใด ๆ ถูกค้นพบครั้งแรกในศตวรรษที่ 16 ในทวีปอเมริกาใต้โดยชาวสเปน ทว่า ยังไม่มีการนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย จนกระทั่งเข้าสู่ศตวรรษที่ 18 ได้เริ่มนำทองคำขาวมาใช้ทำเครื่องประดับ ก่อนที่โลหะชนิดนี้จะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ นับแต่นั้นเป็นต้นมา
๐ ขาวประกายบริสุทธิ์: เสน่ห์ที่ทำให้ใคร ๆ ต่างก็อยากจับจองเป็นเจ้าของ ก็คือคุณสมบัติที่เป็นสีขาวบริสุทธิ์ ส่องประกายระยิบระยับนวลตา เหมาะสำหรับการนำไปใช้เป็นเครื่องประดับที่เน้นความเรียบหรู
๐ ทนทาน: เนื่องจากเป็นโลหะที่มีความเฉื่อยทางเคมีสูง ส่งผลให้ทำปฏิกิริยากับสารเคมีต่าง ๆ ได้ยาก จึงทนทานต่อการกัดกร่อน ไม่เกิดสนิมหรือรอยขีดข่วน อีกทั้งยังมีโครงสร้างผลึกแบบลูกบาศก์ ความแข็งแรงของโลหะชนิดนี้จึงมากกว่าทองคำปกติหลายเท่าตัว
๐ ปลอดภัย: ทองคำขาวเป็นโลหะที่ Hypoallergenic จึงไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้เมื่อสัมผัสกับผิวหนังของมนุษย์ เหมาะกับเป็นเครื่องประดับสำหรับผู้มีผิวแพ้ง่าย
การที่จะตอบคำถามว่าทองคําขาวมีกี่แบบ สิ่งที่ต้องนำมาเป็นเกณฑ์ในการตอบคำถามนี้ก็คือ ความบริสุทธิ์ของทองคำขาว ดังนั้น เราจึงสามารถแบ่งโลหะชนิดนี้ได้เป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
๐ ทองคำขาวบริสุทธิ์ (Pure Platinum): โลหะแพลทินัม 100% เรียกได้ว่าขุดมาแบบไหนก็นำมาแบบนั้น แต่เนื่องจากหายากและมีราคาสูงมาก จึงนิยมเก็บสะสมในรูปแบบสินทรัพย์มากกว่าที่จะนำไปใช้งานจริง
๐ ทองคำขาวผสม (Platinum Alloys): เมื่อมนุษย์ต้องการคุณสมบัติที่โดดเด่นของทองคำขาว แต่ไม่อยากจ่ายแพงเกินไป จึงเกิดเป็นทองคำขาวผสม โดยเป็นการนำทองคำขาวผสมกับโลหะชนิดอื่น ๆ เช่น ทองคำ นิกเกิล แพลเลเดียม เงิน ฯลฯ เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ลดต้นทุน และช่วยปรับเฉดสี
“ทองคําขาวขายได้ไหม?” คำตอบของคำถามนี้ก็คือ “ขายได้” แถมมีราคาแพงกว่าทองคำอีกด้วย โดย ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 ราคาทองคำขาวอยู่ที่บาทละ 31,400 บาท ส่วนทองคำอยู่ที่บาทละ 28,200 บาท อ่านมาถึงตรงนี้ หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่า ทำไมทองคำขาวถึงแพงกว่าทองคำ คำตอบก็มาจากปัจจัยดังต่อไปนี้
๐ ความหายาก: ทองคำขาวเป็นโลหะหายากกว่าทองคำ พบได้เพียง 1 ใน 10 ของทองคำทั้งหมดบนโลก โดยแหล่งแร่ทองคำขาวส่วนใหญ่พบในแอฟริกาใต้ รัสเซีย และแคนาดา ดังนั้น การขุดและสกัดทองคำขาวจึงทำได้ยากกว่า
๐ คุณสมบัติ: ด้วยคุณสมบัติเด่นหลากหลายประการข้างต้น ทองคำขาวจึงมีประโยชน์การใช้งานที่มากกว่าทองคำ ไม่จำกัดอยู่แค่การเป็นสินทรัพย์ หรือเครื่องประดับเพื่อความมั่งคั่งเท่านั้น
๐ ต้นทุนการผลิต: การผลิตทองคำขาวนั้นซับซ้อนกว่าการผลิตทองคำ เริ่มตั้งแต่การสกัดแร่ การหลอมละลาย การขึ้นรูป ไปจนถึงการชุบโรเดียม ซึ่งแต่ละกระบวนการก็ล้วนมีต้นทุนในการผลิต
๐ เครื่องประดับ: ด้วยความเปล่งประกายเงางาม ทองคำขาวจึงเป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับนำไปใช้ทำเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ ต่างหู แหวนหมั้น เพิ่มความหรูหรา เสริมให้เพชรหรือพลอยดูโดดเด่นขึ้น
๐ อุตสาหกรรมการแพทย์: ทองคำขาวมีความทนทานต่อการกัดกร่อนและความร้อน คุณสมบัตินี้ทำให้เหมาะสำหรับใช้งานในอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องมือผ่าตัด ทันตกรรม อุปกรณ์ฝังในร่างกาย และเครื่องกระตุ้นหัวใจ
๐ อุตสาหกรรมเคมี: เนื่องจากมีความเสถียรทางเคมีสูง ทนทานต่อกรดและด่าง จึงทำให้ทองคำขาวเป็นวัสดุที่เหมาะสำหรับใช้ในอุปกรณ์ทดลอง เครื่องปฏิกรณ์ ไปจนถึงท่อส่งสารเคมี
๐ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์: ทองคำขาวเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี ทนความร้อน จึงเหมาะกับการนำมาเป็นส่วนผสมในวัสดุที่ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ขั้วต่อ แผงวงจร และสายไฟ
เมื่อรู้แล้วว่าทองคำขาวคืออะไร มีกี่แบบ และทำไมถึงมีราคาแพง ดังนั้น สำหรับใครที่มีเครื่องประดับทองคำขาวอยู่ในครอบครอง แล้วต้องการแลกเปลี่ยนเป็นเงินสด ที่โรงรับจำนำ Easy Money เรามีบริการรับจำนำทองคำขาวและทองคำในราคาสูง ตีราคาโดยผู้เชี่ยวชาญ ทุกชิ้นที่ผ่านการจำนำทอง เราการันตีเก็บรักษาทรัพย์สินของคุณอย่างดี บริการโปร่งใสทุกขั้นตอน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โรงรับจำนำ Easy Money ทุกสาขาทั่วประเทศ และติดต่อคอลเซนเตอร์ที่เบอร์ 02-113-1123 วันจันทร์ - อาทิตย์ 8.00 - 17.00 (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
ข้อมูลอ้างอิง:
1. TEN THINGS TO KNOW BEFORE YOU BUY PLATINUM. สืบค้นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://timesofindia.indiatimes.com/ten-things-to-know-before-you-buy-platinum/eternalplat_strypg/44847290.cms
2. Platinum Is The New Gold . สืบค้นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.forbes.com/sites/investor/2023/07/28/platinum-is-the-new-gold/?sh=6463dc1c2b16