เชื่อว่าร้อยทั้งร้อย คงไม่มีใครอยากเป็นหนี้ แต่บ่อยครั้ง สถานการณ์ต่าง ๆ ก็บีบบังคับให้เราต้องไปหยิบยืมเงินจากสถาบันการเงินมาช่วยเสริมสภาพคล่อง ทั้งค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่รออยู่ ค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจ และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอื่น ๆ จนรู้ตัวอีกทียอดหนี้ก็พอกพูนเกินกว่าความสามารถในการหามาใช้คืนไปแล้ว นำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้ คำถามคือแล้วจะเกิดอะไรขึ้นหากคุณผิดนัดชำระหนี้บ่อย ๆ มาดูคำตอบและวิธีป้องกันในบทความนี้ได้เลย
๐ เสียประวัติและเครดิตบูโร : ข้อเสียประการแรกหากผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้คือการเสียประวัติและเครดิตบูโร ซึ่งจะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือทางการเงินในอนาคต ทำให้ยากต่อการกู้ยืมเงินในครั้งต่อไป หรือแม้แต่การทำธุรกรรมอื่น ๆ ที่ต้องอาศัยเครดิตที่ดี
๐ อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น : การผิดนัดชำระหนี้ยังจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น เพราะผู้ให้กู้จะมองว่ามีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับเงินคืน จึงต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยผิดนัดเพื่อป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยกฎหมายกำหนดไว้ว่าเจ้าหนี้สามารถคิดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาบวกไม่เกิน 3% ตัวอย่างเช่น ถ้าอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาคือ 8% ผู้ให้บริการทางการเงินจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ได้ไม่เกิน 11% ด้วยเหตุนี้ เมื่อผิดนัดชำระหนี้ ก็ย่อมส่งผลให้ผู้กู้ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยที่หนักขึ้น
๐ มีค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เพิ่มเติม : การผิดนัดยังมีค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เพิ่มเติมอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นค่าติดตามทวงถาม ค่าปรับ หรือค่าดำเนินการทางกฎหมาย ซึ่งจะยิ่งเพิ่มภาระให้กับผู้กู้ที่อยู่ในภาวะลำบากอยู่แล้ว
๐ ถูกฟ้องร้องและกลายเป็นคดีความ : การผิดนัดชำระหนี้อาจนำไปสู่การถูกฟ้องร้องและกลายเป็นคดีความได้ในที่สุด หากผู้กู้ไม่สามารถเจรจาตกลงหรือหาทางออกร่วมกับเจ้าหนี้ได้ ก็อาจถูกดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม ซึ่งนอกจากจะเป็นเรื่องเครียดและเสียเวลาแล้ว ยังอาจส่งผลให้ถูกยึดทรัพย์หรือบังคับคดีได้อีกด้วย
๐ ตั้งเตือนวันนัดชำระหนี้ในโทรศัพท์: วิธีแรกคือการตั้งเตือนวันนัดชำระหนี้ในโทรศัพท์ ซึ่งจะช่วยให้เราไม่ลืมวันกำหนดชำระ เพราะบางครั้งเราอาจมัวแต่ยุ่งจนไม่ได้สังเกตวันสำคัญ การตั้งแจ้งเตือนจะทำให้เราสามารถเตรียมตัวจัดสรรเงินได้ทันเวลา
๐ กันเงินสำหรับชำระหนี้ไว้ตั้งแต่ต้นเดือน: นอกจากนี้ การกันเงินสำหรับชำระหนี้ไว้ตั้งแต่ต้นเดือนก็เป็นอีกเคล็ดลับที่ดีในการผิดนัดชำระหนี้ โดยเมื่อได้รับเงินเดือน ควรแบ่งส่วนหนึ่งเก็บไว้สำหรับจ่ายหนี้ก่อนเป็นอันดับแรก ไม่ควรนำเงินไปใช้จ่ายอย่างอื่นจนหมด แล้วค่อยมาคิดชำระหนี้ทีหลัง เพราะอาจทำให้มีเงินไม่พอจ่ายได้
๐ จำนำทรัพย์สินเพื่อนำเงินก้อนมาชำระหนี้: อย่างไรก็ตาม หากช่วงไหนรายได้ไม่พอจ่าย ก็อาจใช้วิธีจำนำทรัพย์สินเพื่อนำเงินก้อนมาชำระหนี้ก่อนก็ได้ แม้อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด แต่ก็ยังดีกว่าปล่อยให้ถึงขั้นผิดนัด เพราะจะทำให้เสียประวัติเครดิต รวมถึงต้องจ่ายดอกเบี้ยผิดนัดเพิ่มขึ้นด้วย
๐ อย่ากู้ที่ใหม่เพื่อมาโปะที่เก่า: วิธีนี้จะทำให้เป็นหนี้ไม่จบสิ้น ยิ่งกู้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเป็นภาระมากขึ้นเท่านั้น ควรพยายามเคลียร์หนี้ที่มีอยู่ให้หมดไปทีละก้อน อย่าสร้างหนี้ใหม่ขึ้นมาอีก
๐ เจรจาประนอมหนี้หรือขอผ่อนผันกับสถาบันการเงิน: ถ้าถึงจุดที่ไม่สามารถชำระหนี้ไหวจริง ๆ สิ่งที่ควรทำคือเจรจาประนอมหนี้กับสถาบันการเงิน โดยขอขยายระยะเวลาผ่อนหรือลดยอดผ่อนชำระลง เพื่อให้สอดคล้องกับรายได้และความสามารถในการจ่าย ส่วนใหญ่เจ้าหนี้ก็พร้อมเจรจาด้วย เพราะไม่ว่าใครก็อยากได้เงินคืนทั้งนั้น ดีกว่าปล่อยให้กลายเป็นหนี้เสียไปเปล่า ๆ
ไม่อยากมีปัญหาผิดนัดชำระหนี้ จนต้องจ่ายดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราที่สูง แนะนำให้ดาวน์โหลด Easy Smart แอปพลิเคชันจากโรงรับจำนำ Easy Money ไว้ในมือถือ เพราะแอปฯ นี้จะช่วยให้คุณสามารถส่งดอกเบี้ยโรงรับจำนำออนไลน์ได้ง่าย ๆ รวมถึงสามารถเช็กตั๋วจำนำได้อย่างรวดเร็ว พร้อมส่งดอกเบี้ยออนไลน์ และเพิ่มวงเงินจำนำได้อย่างสะดวกสบาย เรียกได้ว่าสามารถจัดการทุกอย่างได้ทุกที่ทุกเวลา โดยใช้โทรศัพท์มือถือเพียงเครื่องเดียว แถมยังไม่ต้องเดินทางออกจากบ้านให้ลำบาก ดาวน์โหลดและสมัครใช้งานได้ฟรีทั้งระบบ iOS และ Android
ข้อมูลอ้างอิง:
1. ทำอย่างไรดีเมื่อผิดนัดชำระ โดนฟ้อง และได้รับหมายศาล. สืบค้นวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.law.tu.ac.th/debt-support-project-summary-special-ep1/
2. ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้และการตัดชำระหนี้คิดอย่างไรให้เป็นธรรม. สืบค้นวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.bot.or.th/th/satang-story/managing-debt/default-interest.html